เขียนโดย อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท-Webmaster
|
แบบทดสอบเวชกรรมไทย เผอิญอ่านพบกลอนในนิราศพระประธม ที่ท่านสุนทรภู่แต่งตอนไปนครปฐม มีคำว่า "กอกเลือด" ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทย และยังทำให้รู้ว่าที่มาของการที่กรุงเทพมหานครของเรา มีชื่อเรียกว่า "บางกอก (Bangkok)" นั้น มีคำเรียกแถบท้องถิ่นด้วยคำนี้มาแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นแล้ว ซึ่งถิ่นบริเวณคลองบางกอกน้อยและบริเวณใกล้เคียงนั้น ถูกระบุไว้ในนิราศนี้ ที่ความหมายในนิราศตามบทกลอนแสดงว่าท่านเกิดและเติบโตมาในแถบนี้ไม่ใช่เมืองระยองตามที่มีคนเข้าใจกัน คำว่า "กอก" มีความหมายว่าลัดหรือเอาออกไป ซึ่งสมัยก่อนนั้นเขานิยมตั้งชื่อท้องถิ่นต่างๆ นำด้วยคำว่า "บาง" และพอมีการขุดคลองลัดออกไป เลยตั้งชื่อบริเวณคลองลัดนั้นว่า "คลองบางกอก" แต่ยุคนั้นใจกลางเมืองที่คนอยู่หนาแน่นก็คงรอบๆเกาะรัตนโกสินทร์ ที่เป็นที่ตั้งพระราชวังและวัดพระมหามณีรัตนปฏิมากรหรือวัดพระแก้ว ก็เลยน่าจะเป็นที่มาของชื่อกรุงเทพพระมหานครว่า "เมืองบางกอก" ในที่สุด (ตอนท้ายนี้คาดเดาเอง อาจผิดก็ได้)
คำถามเพิ่มเติม ๕) กลอนในวรรคที่สามและสี่ (บันทัดที่สอง) ยังมีการกล่าวถึงวิธีรักษาของแพทย์แผนไทยอีกสองวิธี คือคำว่าอะไรบ้าง ๖) สิ่งที่ใช้ในการ "กอกเลือด" ที่เรียกว่า "หมอน้อย" นั้น สามารถใช้สิ่งใดได้บ้าง ภาพการกอกเลือด ถาพผู้ป่วยจิตเวช
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Saturday, 03 August 2013 )
|