Header Image
หน้าแรก/Home
ข่าวสารสมุนไพรและสุขภาพ
ข่าวสารการจัดการธุรกิจสปา
ข่าวสาร/กิจกรรม
สมัครสมาชิกชมรมวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
ความรู้ด้านสปาเพื่อสุขภาพ
ข้อมูลด้านการแพทย์ทางเลือก
กฎหมายวิชาชีพ/สถานพยาบาล
ข้อมูลโรค/ปัญหาสาธารณสุข
สาระสมุนไพรน่ารู้
เว็บลิ้งค์/Links
เว็บบอร์ด/Board
ผู้พัฒนาเว็บไซต์/เว็บมาสเตอร์
ค้นข้อมูล/Advanced Search
ห้องสมุดออนไลน์รวมลิ้งก์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
เว็บเครือข่าย
BanBuaThai.com
สนง.ส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ
มูลนิธิการแพทย์ทางเลือกเพื่อมะเร็ง
ได้รับความนิยมสูง
ข่าวสารล่าสุด
สถิติการใช้งาน
ผู้เยี่ยมชม: 3099987
หน้าแรก/Home arrow ข่าวสาร/กิจกรรม arrow สัญเจตนาไม่ยื้อชีวิต
สัญเจตนาไม่ยื้อชีวิต PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท-Webmaster   

จริยธรรมที่แพทย์แผนไทยควรทราบ..."สัญเจตนาไม่ยื้อชีวิต"

                                พัฒนาบทความโดย อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท

Image

ภาพจาก :  http://us.cdn3.123rf.com/168nwm/zimmytws/zimmytws1105/zimmytws110500019/9583977-a-living-will-document-closeup-with-pen.jpg

              ปัจจุบัน สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แผนไทยประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน  เช่น โรงพยาบาลแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะที่อยู่ในบริเวณวัด ซึ่งผู้ป่วย (และญาติ) สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก และไม่สิ้นเปลือง จะพบว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มาขอรับการรักษามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน  โดยเฉพาะโรคมะเร็งระยะสุดท้าย (Terminal stage) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดในปัจจุบัน ส่วนโรคอื่นๆ ที่พบบ่อยว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตอีกคือ โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเอดส์  ประเภทของผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มารับการรักษาคือเมื่อการดำเนินของโรคมาสู่ระยะท้ายๆ และ/หรือมีอาการขั้นรุนแรงร่วมด้วย หรือรักษาทางแผนปัจจุบันมานานแล้วไม่หาย/ไม่ดีขึ้น จึงลองหันมารักษาด้านแผนไทยเป็นการรักษาทางเลือก และบ่อยครั้งก็ไม่ได้หวังผลในการรักษาให้หาย เป็นแต่เพียงการรักษาในลักษณะประคับประคอง (Palliative treatment) ที่อาจต้องการผลเพียงการยื้อชีวิตให้ยาวนานที่สุดโดยวิธีการดูแลแบบองค์รวมหรือแนวธรรมชาติบำบัดในวิถีที่ตนคุ้นเคยหรือสามารถผนวกไว้ในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้เพื่อต้องการมีคุณภาพชีวิตในขณะเจ็บป่วยระยะสุดท้ายหรือใกล้ตายให้มากที่สุด

 

Image

ภาพจาก : http://img.ehowcdn.com/article-new/ehow/images/a05/6p/ci/end-stages-brain-cancer-800x800.jpg

 

                เมื่อการดำเนินโรคเข้าสู่ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวพอที่จะตอบคำถามหรือตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ด้วยตนเอง  บ่อยครั้งที่พบว่าญาติอาจทำใจไม่ได้ ต้องการให้ผู้รักษากระทำทุกวิถีทางในการยื้อชีวิตผู้ป่วย เช่น ขอร้องให้ช่วยให้สารอาหาร น้ำ และยาต่อไป เพื่อประคับประคองชีวิตผู้ป่วยไว้ แต่หากแพทย์มีข้อมูลว่าผู้ป่วยเคยบอก/สั่งเสียไว้ (วจีสัญเจตนา) หรือมีหนังสือแสดงเจตนารมณ์ไม่ต้องการให้ยื้อชีวิตของผู้ป่วยแจ้งไว้-สัญเจตนาไม่ยื้อชีวิต นั่นคือสิ่งที่แพทย์ผู้รักษาหรือแพทย์แผนไทยที่มีส่วนในการรักษาควรจะให้ความสำคัญ เพราะนั่นหมายถึงการที่ผู้ป่วยได้ใช้สิทธิผู้ป่วย (Patient Right) และได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง (Autonomy) และถือเป็นการช่วยพิทักษ์สิทธิให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ป่วย

 

            การทำตามเจตนารมณ์ของผู้ป่วย ไม่ควรพิจารณาในเชิงวิชาการหรือเชิงกฎหมายมากเกินไป ให้คิดว่าเป็นการทำให้บรรลุตามความปรารถนาสุดท้ายของมนุษย์คนหนึ่ง ที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในทีมสุขภาพหรือมีส่วนในการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ช่วยให้เขาสามารถตายได้อย่างสงบและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งได้รับความเคารพต่อการตัดสินใจต่อชีวิตตนเอง แม้ว่าการมีชีวิตอยู่หรือชีวิตของมนุษย์ทุกคนจะนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดบนโลกใบนี้

Image

ภาพจาก : http://us.cdn1.123rf.com/168nwm/zimmytws/zimmytws1203/zimmytws120300007/12835175-closeup-of-a-living-will-document-and-pen.jpg

 

          

แต่ที่สำคัญที่สุดสำหรับแพทย์แผนไทยผู้รักษา ที่อาจไม่พบว่าผู้ป่วยเคยแสดงเจตนาในลักษณะของการไม่ต้องการยื้อชีวิตไว้หรือไม่อย่างไร จริยธรรมในแพทย์ผู้รักษาที่มีส่วนในการตัดสินใจที่อาจต้องพยายามที่จะกระทำหรือไม่กระทำการยื้อชีวิตผู้ป่วยไว้นั้น ควรพิจารณาโดยความเห็นและใจอันเที่ยงธรรมโดยอิงหลักวิชา ว่าสมควรหรือจำเป็นมากน้อยเพียงใด แพทย์อาจตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานประโยชน์ของผู้ป่วยไม่ใช่ประโยชน์ของแพทย์เองเป็นหลัก

 

สัญเจตนา

           คำว่า “สัญเจตนา” ตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) หรือพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านให้ความหมายของ เจตนา หรือ สัญเจตนา  6 หมวด ว่าหมายถึงความจงใจ, ความตั้งใจ, ความจำนง, ความแสวงหาอารมณ์ และเจตนาที่แต่งกรรม (volition; choice; will)ประกอบด้วย กองเจตนา-หมวดเจตนา 6

   

 

1. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป — volition concerning visible objects; choice of forms; will directed to forms)
       2. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง — volition concerning audible objects; choice of sounds; will directed to sounds)
       3. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น — volition concerning odorous objects; choice of odors; will directed to odors)
       4. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส — volition concerning sapid objects; choice of odors; will directed to sapid)
       5. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ — volition concerning tangible objects; choice of tangible; objects; will directed to bodily impressions)
       6. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์ — volition concerning ideational objects; choice of ideas; will directed to mental objects)
       หกอย่างนี้ เรียกเต็มตามศัพท์ว่า เจตนากาย หรือ สัญเจตนากาย 6 (กองเจตนา หมวดเจตนา — bodies of choice; classes of volition)

     

      สัญเจตนา พิจารณาโดยสังขาร 3 จะแบ่งเป็น

-        กายสัญเจตนา

-        วจีสัญเจตนา

-        มโนสัญเจตนา

Image

http://us.123rf.com/400wm/400/400/mfg143/mfg1431011/mfg143101100018/8223234-do-not-resuscitate-dnr-form-with-pen-and-ekg-tracing.jpg

 

สัญเจตนาไม่ยื้อชีวิต ( Advance Directive หรือ Living wills)

           เป็นการแจ้งเจตจำนงของผู้ป่วยแก่แพทย์ล่วงหน้า ว่าไม่ต้องการให้ทำการยื้อชีวิต หากไม่สามารถเยียวยาให้หายได้

อ้างอิงข้อมูลจาก

- พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2546 -http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=263  

- Journal No. 8 in 1 (2010)/วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553

- http://palungjit.com/dict/409653

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Friday, 05 October 2012 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >
Free template "Frozen New Year" by [ Anch ] Gorsk.net Studio. Please, don't remove this hidden copyleft! You have got this template gratis, so don't become a freak.