พรบ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 1 กพ 56 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2556 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนที่ 10 ก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 แล้ว และ พรบ.ก็มีผลบังคับใช้แล้ว อ่านรายละเอียดคลิ๊กที่นี่ ==> http://mrd.hss.moph.go.th/uploadFiles/news/N000000007954896.pdf
ความเป็นมาของพรบ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 2 สมัยสามัญทั่วไป เมื่อ 8 ส.ค.55 มีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยที่ประ ชุมได้พิจารณาร่างพ.ร.บ. ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.จำนวน 3ฉบับ ได้แก่ 1. ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. ....ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้มีกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสังคมสงเคราะห์เพื่อกำหนด หน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและ แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ประสบปัญหาในการดำรงชีวิตให้สามารถกระทำ หน้าที่ทางสังคมและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และให้มีองค์กรควบคุมการประกอบอาชีพสังคมสงเคราะห์ในรูปของสภาวิชาชีพ เพื่อควบคุมมาตรฐานและจรรยาบรรณจากการประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รวมทั้งสง เสริมและพัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานประกอบวิชาชีพ และเพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีคุณภาพและมาตรฐานมีความก้าวหน้า 2.ร่าง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลห้วยโปร่ง และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... 3.ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ.. เพื่อให้มีกฎหมายด้วยวิชาชีพแพทย์แผนไทย เพื่อให้แยกการกำกับดูแลและการควบคุมการประกอบวิชาชีพแผนไทย ออกจากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ และคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย โดยจัดตั้ง "สภาแพทย์แผนไทย" ขึ้นเพื่อส่งเสริมการประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย กำหนดและควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ และจริยธรรมแพทย์แผนไทย ควบคุมมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคล ซึ่งไม่มีความรู้อันก่อให้เกิดภัยและความเสียหายแก่ประชาชน จากนั้นประธานสั่งปิดการประชุมในเวลา 18.10 น. ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/politics/148436 ส่วนข่าวล่าสุด เกี่ยวกับ พ.ร.บ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย เมื่อ 28 พ.ย. 2555 วันที่ 28 พ.ย.55 ที่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) เปิดเผยว่าขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภารวมทั้งสภาผู้แทนราษฎรในวาระสุดท้ายแล้ว โดยมีการแก้ไขใน 3-4 ประเด็น ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนทูลเกล้าฯถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยและประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ "จะต้องมีการแก้กฎหมายอีก 2 ฉบับตาม คือ พ.ร.บ.ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 เพื่อยกเลิกผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย เนื่องจากมีสถานะเป็นวิชาชีพต่างหากแล้ว และแก้ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 เพื่อให้รองรับการเปิดสถานพยาบาลด้านแพทย์แผนไทย" รมช.สธ.กล่าว นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า สำหรับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย แบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ สาขาแพทย์แผนไทยดั้งเดิม อาทิ การนวดไทย เวชกรรมไทย และสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ นอกจากนี้ สธ.พร้อมที่จะผลักดันให้มีการเปิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย (รพ.สส.พท.) นั้นจะเป็นการส่งเสริมในลักษณะเสริมพื้นที่ แต่สำหรับพื้นที่ใดที่พร้อมอาจจะมีการเปิดเฉพาะแห่ง รมช.สธ.กล่าวต่อว่าได้มอบนโยบายให้กรม พัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ สนับสนุนให้คนไทยรู้คุณค่าภูมิปัญญาไทย เพื่อขับเคลื่อนสุขภาพที่ดี นำการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขให้ทัดเทียม แพทย์แผนปัจจุบัน ตั้งเป้าปี 2556 จะเพิ่มบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานจากเดิมร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 14 และมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ซึ่งจะ ต้องสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ประสิทธิภาพประสิทธิผลของยาสมุนไพร และได้ให้เพิ่มการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อปรับความสมดุลย์ของธาตุในร่างกายสอดคล้องกับวิถีการแพทย์แผนไทย ทั้งสมุนไพร อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ นอกจากใช้เป็นยารักษาโรค และจะหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผลักดันโครงสร้างการบริหารของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เพื่อรองรับภารกิจเพิ่มเติม เช่น สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย สำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้เป็นโครงสร้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย น.พ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่ากรมส่ง เสริมภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรไทย วางแผนจะสนับสนุนให้มีสวนสมุนไพรในทุกหน่วยงาน ในส่วนของชุมชน/หมู่บ้านให้มีสวนสมุนไพรเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 2 ไร่ และส่งเสริมกระบวนการผลิตสมุนไพรที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค มีโรงงานผลิตยาสมุนไพรกลาง มีการนำการแพทย์แผนไทยสมุนไพรไทยไปใช้ในชีวิตประจำวัน ภายใน 10 ปีนี้ตั้งเป้าจัดทำเกณฑ์มาตรฐานขับเคลื่อนให้เกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลทุกระดับ 10,670 แห่ง มีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบ 20 แห่ง ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการแพทย์แผนไทยฯ กระจายทุกภาครวม 12 แห่ง นอกจากนี้ได้เตรียมความพร้อมเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะชูชุดผลิตภัณฑ์สมุนไพรเบญจภาคี ประกอบด้วย กวาวเครือ ไพล กระชายดำ บัวบก และข้าว/ผลิตภัณฑ์จากข้าว เป็นจุดขายดึงเงินเข้าสู่ประเทศ. ข้อมูลข่าวจาก http://www.isranews.org/
|